คำสั่ง SQL เบื้องต้น by natsu
ก่อนอื่นต้องบอกเลยครับว่ามันไม่ได้ดีมากนักสำหรับหน้าเวปนี้เพราะผมอ่านหนังสือและสรุปอย่างคร่าวๆ แล้วรูปแบบมันอาจจะเพี้ยนๆ เพราะผมเขียนใน PAGE แล้วเอา COPY and PASTE ลงเล้ย แบบไม่แก้ไขอันใด tab มั่วไปหมด ถ้าผิดพลาดประการใดต้องขออภัยด้วยครับ
ภาษา SQL นั้นไม่เป็น case sensitive (ตัวเล็ก ตัวใหญ่มีค่าเท่ากัน) และในแต่ละคำสั่งจะถูกปิดด้วย ; (semi-colon)
ก่อนอื่นต้องบอกเลยครับว่ามันไม่ได้ดีมากนักสำหรับหน้าเวปนี้เพราะผมอ่านหนังสือและสรุปอย่างคร่าวๆ แล้วรูปแบบมันอาจจะเพี้ยนๆ เพราะผมเขียนใน PAGE แล้วเอา COPY and PASTE ลงเล้ย แบบไม่แก้ไขอันใด tab มั่วไปหมด ถ้าผิดพลาดประการใดต้องขออภัยด้วยครับ
ภาษา SQL นั้นไม่เป็น case sensitive (ตัวเล็ก ตัวใหญ่มีค่าเท่ากัน) และในแต่ละคำสั่งจะถูกปิดด้วย ; (semi-colon)
(วิธีการลง SQL ใน Window7 :
http://natsusencho.blogspot.com/2012/07/mysql-window7.html)
มาเริ่มกันเลย
การเข้าใช้ให้เราเปิด cmd ขึ้นมาและ
$ mysql -u root -p
จากนั้นใส่ password
ลงไป
จะเข้าสู่การใช้
mysql > (เราจะพิมพ์คำสั่งต่างๆลงไป)
mysql > (เราจะพิมพ์คำสั่งต่างๆลงไป)
ถ้าต้องการออกใช้
mysql > quit
mysql > show databases; แสดง databases ทั้งหมดที่เราสร้างขึ้น
mysql > use <ชื่อ database> เป็นการเข้าใช้ database นั้นๆ
mysql > SELECT database(); ดู database ที่เรากำลังใช้อยู่
mysql > show tables; แสดงตารางทั้งหมดที่เราสร้างขึ้นใน database ที่ use
สร้าง DATABASE
mysql > create database <ชื่อdatabase>;
เช่น create database
world;
สร้าง table
mysql > create table <ชื่อtable>
(<ชื่อข้อมูล> <ชนิดข้อมูล>,
... );
เช่น create table human (name VARCHAR(20), birth DATE, sex
CHAR(1));
ชนิดข้อมูล เช่น
VARCHAR(n)
- ข้อมูลชนิด string เก็บแบบ linked
list เหมาะสมกับข้อมูลที่มีความยาวที่ไม่แน่นอน
CHAR(n)
- ข้อมูลชนิด string เก็บแบบ array เหมาะสมกับข้อมูลที่มีความยาวที่แน่นอน
INT - จำนวนเต็ม
DATE - ข้อมูลชนิดพิเศษของ SQL ใช้เก็บวันที่ มีรูปแบบเป็น YYYY-MM-DD
ดูชื่อและชนิดข้อมูลของแต่ละตาราง
mysql > describe <ชื่อtable>;
การใส่ข้อมูลลงไปใน table
1. ใช้คำสั่ง load
data จากไฟล์ที่เราเตรียมไว้ โดย default จะแบ่งเนื้อหาโดยใช้
tab แบบนี้จะมีปัญหาเรื่องการใช้ข้อมูลชนิด NULL ซึ่งใช้ \N แทน
mysql
> load data local infile ‘natsu.txt’ into table pet;
2.INSERT ใส่ทีละข้อมูล เหมาะกับข้อมูลที่น้อยๆ ที่เราเพิ่มเติมเข้าไป เช่น
2.INSERT ใส่ทีละข้อมูล เหมาะกับข้อมูลที่น้อยๆ ที่เราเพิ่มเติมเข้าไป เช่น
mysql
> INSERT INTO pet VALUES (‘natsusencho’, ‘1992-03-25’, ‘M’);
3. *ทำ SQL script คือเตรียมไฟล์คำสั่ง sql ไว้แล้วนำมาทำการ source ทีเดวเช่น
ส่วนตัวแนะนำวิธีนี้เพราะเราเขียนทั้งหมดทีเดียวไม่ต้องมาใส่ทีละคำสั่ง นึกออกให้เสร็จที่เดียวแล้ว run ทีเดียวทั้งหมด
3. *ทำ SQL script คือเตรียมไฟล์คำสั่ง sql ไว้แล้วนำมาทำการ source ทีเดวเช่น
ส่วนตัวแนะนำวิธีนี้เพราะเราเขียนทั้งหมดทีเดียวไม่ต้องมาใส่ทีละคำสั่ง นึกออกให้เสร็จที่เดียวแล้ว run ทีเดียวทั้งหมด
---- file natsu.sql ----
CREATE
TABLE IF NOT EXISTS human (
name VARCHAR(20),
birth DATE,
sex
CHAR(1) );
INSERT
INTO human VALUES
( 'NatsuSencho', '1992-03-25', 'M'),
( 'Slime', '1999-03-03', NULL ),
(
‘HeyFemale’ , ‘1993-12-25’ , ‘F’);
-----
file natsu.sql -----
หลังจากสร้างเสร็จแล้วก้ลองใช้คำสั่ง
mysql
> source natsu.sql;
ก็จะได้ตาราง world หน้าที่มีข้อมูล 3 ตัว
create
table IF NOT EXISTS human
คำว่า IF NOT EXISTS หมายถึงการสร้าง table นี้ถ้ายังไม่มี table นี้ ถ้ามีแล้วก็ไม่ต้องสร้าง
มีสร้างก็ต้องมีลบ การลบ table ใช้คำสั่ง
mysql
> DELETE FROM <ชื่อtable>;
หลังจากที่สร้างเป็นแล้วต้องสามารถแก้ไขข้อมูลได้
mysql
> UPDATE <ชื่อtable>
SET
<ชื่อข้อมูล> = <ข้อมูลใหม่>
WHERE
<เงื่อนไขอื่นๆ>;
เช่น UPDATE human SET name = ‘HeyGirl’ WHERE name = ‘HeyFemale’;
การสืบค้นข้อมูล หรือการดูข้อมูล
SELECT
<สิ่งที่ต้องการ>
FROM
<ชื่อtable>
WHERE
<เงื่อนไขอื่นๆ>
เช่นต้องการชื่อของข้อมูลในตาราง human ที่มีมีเพศชาย
SELECT
name
FROM
human
WHERE
sex = ‘M’;
ต้องการดูข้อมูลทั้งหมดในตาราง human [* คือทั้งหมด]
SELECT *
FROM
human;
ซึ่งการกำหนดเงื่อนไขนั้นเราสามารถใช้ตัวแปรทางคณิตศาสตร์ตรรกะ
มาช่วยได้เช่น
AND และ
OR หรือ
OR หรือ
< น้อยกว่า
> มากกว่า
> มากกว่า
<= น้อยกว่าหรือเท่ากับ
>= มากกว่าหรือเท่ากับ
<>
ไม่เท่ากับ
UNION การนำ 2 ตารางมาเชื่อมต่อกันตัดตัวซ้ำ
UNION ALL การนำ 2 ตารางมาเชื่อมกันโดยไม่ตัดตัวซ้ำ
INTERSECT
ข้อมูลที่ซ้ำกัน
DISTINCT คือการตัดตัวที่ซ้ำกันออก
เช่น SELECT
DISTINCT sex
FROM
human;
ORDER BY เรียงลำดับข้อมูล
การจัดกลุ่มข้อมูล
เรียงลำดับจากมากไปน้อย (descending order)
เช่น SELECT
*
FROM
human
ORDER BY
name;
เรียงลำดับจากน้อยไปมาก (descending order)
เช่น SELECT
*
FROM
human
ORDER BY
name DESC;
ถ้าต้องการมากกว่าอันนึงก็ย่อมได้
เช่น SELECT
*
FROM
human
ORDER BY
name , sex DESC ;
แบบนี้จะจัดตามชื่อแบบ ascending ก่อนแล้วจะมาจัดเพศแบบ descending
ทีหลัง
การคำนวณเกี่ยวกับวันที่
ตัวแปร DATE เป็น string ที่มีการเก็บเป็นรูปแบบ
YYYY-MM-DD ตัวแปรชนิด DATE สามารถนำมาเทียบค่ากันได้ในระดับ
ASCII
CURDATE() จะเป็น function ที่ส่งค่าออกมาเป็นข้อมูลรูปแบบ DATE (YYYY-MM-DD)
YEAR(<ข้อมูลชนิดdate>)
ส่งค่าออกมาเป็นข้อมูลรูปแบบของปี (YYYY)
MONTH(<ข้อมูลชนิดdate>)
ส่งค่าออกมาเป็นข้อมูลรูปแบบของเดือน (MM)
DAY(<ข้อมูลชนิดdate>)
ส่งค่าออกมาเป็นข้อมูลรูปแบบของวัน (DD)
RIGHT(<ข้อมูลชนิดstring>,
<จำนวนตัวเลข>) ส่งค่าออกมาจำนวนเท่ากับที่เราต้องการตัดออกมาจาก
string นั้นๆ โดยเริ่มนับจากทางขวา
LEFT(<ข้อมูลชนิดstring>,
<จำนวนตัวเลข>) ส่งค่าออกมาจำนวนเท่ากับที่เราต้องการตัดออกมาจาก
string นั้นๆ โดยเริ่มนับจากทางซ้าย
ตัวอย่าง
ex1. ต้องการปีของวันปัจจุบัน YEAR( CURDATE() )
ex2. ต้องการเดือนและวันของปัจจุบัน
RIGHT( CURDATE(),5 )
[5 ในที่นี้คือนับจากทางขวามือมา YYYY-MM-DD ก็จะได้ MM-DD
มา]
การใช้ตัวแปร NULL ในเงื่อนไข
ใช้คำสั่ง xxx IS NOT NULL เช่นต้องการดูสิ่งมีชีิวิตที่ไม่มีเพศ
SELECT *
FROM
human
WHERE
sex IS NOT NULL;
การตั้งชื่อเป็นชื่อที่เราต้องการ
หมายถึงเวลา select บางทีคนทั่วไปอาจจะไม่เข้าใจว่าคืออะไร
เราจึงมีคำสั่ง AS ช่วย เช่น
SELECT
name AS ‘NAME-SURNAME’
FROM
human;
COUNT การนับจำนวน + GROUP
BY การจัดกลุ่ม
COUNT ใช้ในการนับจำนวนของตารางต่างๆ จะใช้คู่กับ GROUP BY ได้ดีเพราะจะช่วยในการจัดกลุ่มชุดข้อมูลได้ดีขึ้น
SELECT
<อื่นๆ> COUNT(*)
FROM
<ชื่อtable>
WHERE
<เงื่อนไข>
GROUP BY
<จัดกลุ่มโดยใช้อะไร>
เช่นต้องการนับจำนวนคนในแต่ละเพศ
SELECT
sex , COUNT(*)
FROM
human
GROUP BY
sex;
SET การกำหนดตัวแปร
SET
@<ชื่อตัวแปร> = <ค่า>
เช่น SET @A1 = ‘Natsu Sencho’;
SET @A2
= ‘1999-09-09’;
การใช้คำสั่ง JOIN
การ JOIN คือการนำตารางที่มีความสัมพันธ์ของข้อมูลในแต่ละฟิลมาเชื่อมโยงกัน
การ JOIN มี 2 แบบคือ
1. INNER
JOIN
2. OUTER
JOIN |--- LEFT JOIN
|---
RIGHT JOIN
INNER JOIN
คือการ JOIN โดยไม่สนใจค่า NULL จะดูเพียงตัวที่เหมือนกันเท่านั้น
สมมติมีตาราง 2 อันชื่อ Ltable และ Rtable นำมา JOIN กันโดยมีข้อมูลที่ซ้ำกันคือ
id
-- JOIN โดยใช้ ON
SELECT *
FROM
Ltable INNER JOIN Rtable ON Ltable.id = Rtable.id;
-- หรือ JOIN โดยใช้ USING
SELECT *
FROM
Ltable INNER JOIN Rtable USING (id);
กรณีพิเศษที่ตัวแปรหรือชื่อ Column ซ้ำกันก็สามาใช้ NATURAL
JOIN ได้ อย่างในที่นี้เรารุ้ว่า id นั้นซ้ำกันเราก็ไม่ต้องใส่เงื่อนไขใดๆ
แต่ใช้ Natural Join เข้ามาช่วยโดย
SELECT *
FROM
Ltable NATURAL JOIN Rtable;
OUTER JOIN
·
LEFT JOIN
คือการ JOIN โดยใช้ตัวทางซ้ายเป็นหลักคือ
จะแสดงตัวทางซ้ายทุกตัวและนำข้อมูลขวามาเชื่อม
SELECT *
FROM
Ltable LEFT JOIN Rtable ON Ltable.id = Rtable.id;
·
RIGHT JOIN
คือการ JOIN โดยใช้ตัวทางขวาเป็นหลักคือ จะแสดงตัวทางขวาทุกตัวและนำข้อมูลขวามาเชื่อม
SELECT *
FROM
Ltable RIGHT JOIN Rtable ON Ltable.id = Rtable.id;
นอกจากวิธีการ JOIN ยังมีวิธีที่เรียกว่า Cartesian
Product ซึ่งไม่ได้อทิบายไว้ในทีนี้
ถ้ามีโอกาศจะนั่งทำตัวอย่างให้ดูให้เห็นได้ชัดกว่านี้นะครับ
แต่ผมสรุปแบบคร่าวๆ ให้พอดู
รวมคำศัพท์คำสั่งที่เจอเพจนี้
CREATE สร้างdatabase, table
INSERT ใส่ข้อมูล
UPDATE อัพเดตข้อมูล
SELECT ต้องการจะดูอะไรบ้าง
FROM จากที่ไหน
WHERE เงื่อนไขอย่างไร
COUNT(*)
นับจำนวนของฟิลข้อมูล
GROUP BY
จัดกลุ่มข้อมูล
ORDER BY
เรียงลำดับข้อมูลโดย
JOIN เชื่อมตาราง
DISTINCT
ตัดตัวซ้ำ
AS ใช้คำใหม่ให้กระทัดรัดขึ้น
SET กำหนดตัวแปร
CURDATE() วันที่ปัจจุบัน
YEAR() ปี
MONTH() เดือน
DAY() วัน
RIGHT() ตัดคำจากทางขวา
LEFT() ตัดคำจากทางซ้าย
* ทั้งหมด
อ้างอิง
: เอกสารประกอบการสอนวิชา Databases โดยอาจารย์จิระ 2012 มหาวิทยาลัยบูรพา
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น